ทฤษฎีปริมาณเงินตามแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์การเงินนิยม

ทฤษฎีปริมาณเงินตามแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์การเงินนิยม


นักเศรษฐศาสตร์การเงินนิยมได้กล่าวถึงทฤษฎีปริมาณเงิน
               
1.ปริมาณเงินเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำหนดรายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงิน(national income) ในระบบเศรษฐกิจหนึ่ง ระดับของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สามารถแสดงในรูปตัวเงินถูกกำหนดโดยปริมาณเงิน นักเศรษฐศสตร์การเงินจึงเน้นความสำคัญของนโยบายการเงินในการำกหนดระดับการผลิต ระดับรายได้รวมทั้ง การรักษาเสถียร ภาพทางเศรษฐกิจ
               
2.ปริมาณเงินมีบทบาทต่อการกำหนดราคา เมื่อพิจารณาผลในระยะยาวแล้ว ปริมาณเงินมีผลต่อปัจจัยต่างๆ ส่วนระดับของกิจกรรมทางเศรศฐกิจที่แท้จริงไม่ได้ขึ้น กับปริมาณเงินจะมีผลต่อปัจจัยที่แท้จริง เช่นระดับผลผลิตแท้จริง ซึ่งถูกกำหนดโดยปริมาณสินค้าทุน จำนวนและคุณภาพของปรงงานในระบบเศรษฐกิจและเทคโนโลยีการผลิตเป็นต้น  ในระยะยาว ระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริงไม่ถูกกระทบโดยผลของปริมาณเงิน แต่ในระนะสั้นการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงืนนอกจากมีอิทธพลต่อระดับราคาสินค้าทัวไปแล้ว ยังมีอิทธพลต่อผลผลิตที่แท้จริงและการจ้างแรงงานด้วย เน่องจากในระยะสั้นการเคลื่อนไหวของราคาและค่าจ้างแรงงานไม่สามารถเครื่องไหวขึ้นลงได้อย่างเสรี เมื่อปริมาณเงินเปลี่ยนแปลงก็ทำให้การจ้างานเปลี่ยนไปด้วยจึงมีผลกระทบถึงผลผลิต
               
3.สมการความต้องการถือเงินของสำนักการเงินนิยมเป็นสมการที่มีเสถียรภาพ เม้ว่าในทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ของนักการเงินนิยมแสดงให้เห็นว่า อัตราการหมุนเวียนของเงินไม่คงที่ในระยะยาวแต่โดยทั่วไปแล้วนักการเงินนินมเห็นว่าอัตราการหมุนเงินค่อนข้างมีเพียรภาพ ในบางครั้งเศรษฐกิจเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงอัตราการหมุน เวียนเงินจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประชาชนคาดการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาในอนาคตซึ่งทำให้ความต้องการถือเงินเปลี่ยนแปลงไปและไร้เสถียรภาพ ซึ่งนักการเงินนินมมีความเห็นว่าทฤษฎีการเงินต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ การคาดการณ์เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมความต้องการถือเงินเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้และไม่ขัดแย้งกับปริมาณเงินสมัยใหม่
               
4.การเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงินทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์รวมของสินค้าโดยกระบวนการดังกล่าวจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในการถือสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ในรูปแบบต่างๆนักการเงินนิยมเชื่อว่า ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลทำการซื้อหลักทรัพย์ในท้องตลาด ราคาของสินทรัพย์หรือ หลักทรัพย์ทุกชนิดก็จะสูงตามไปด้วยและถ้าจำนวนผลตอบแทนที่ได้รับไม่เปลี่ยนแปลงก็แสดงว่า อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ทุกชนิดลดลงเมื่อเทียบกับราคาหลักทรัพย์ไหม่ ซึ่งจะเป็นผลให้ประชาชนนำหลักทรัพย์ออกมาจำหน่ายมากขึ้นทำให้เกิดความต้องการซื้อสินค้ามากขึ้น ในที่สุดก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์รวมของสินค้าด้วย
              
 5.นักการเงินนิยมเห็นว่า เศรษฐกิจในภาคเอกชนซึ่งประกอบด้วยหน่วยธุรกิจต่างๆและครัวเรือนเป็นภาคที่ไม่มีเสถียรภาพในตัวเองแต่ความไม่มีเสถียรภาพนั้นเกิดจากนโยบายและการดำเนินงานของภารรัฐบาลกล่าวคือ ถ้ารัฐบาลต้องการขยายปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ทำได้โดยการซื้อหลักทรัพย์จากตลาดเพื่อโอนเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น เมื่อมีการซื้อขายหลักทรัพย์จากตลาดเพื่อโนเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น เมื่อมีการซื้อขายหลักทรัพย์เกิดขึ้น สัดส่วนของสินทรัพย์ของประชาชนก็จะเปลี่ยนแปลงโดยสินทรัพย์ที่เป็นตัวเองินจะเพิ่มขี้นได้ขณะที่สินทรัพย์ชนิดอื่นลดน้อยลง แต่ในนะยะสั้น ผลผลิตสินค้ามากขึ้น ราคาสินค้าสำเร็จรูปและราคาวัตถุดิบมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อราคาสินค้าสูงขขึ้นทำให้นักธุรกิจคาดการณ์ไว้ สามารถหาผลกำไรขากการลงทุนได้ก็จะลงทุนมากขึ้น ในที่สุดการจ้างงานและระดับรายได้ก็สูงขึ้นกำไรของธุรกิจก็สูงตามส่งผลให้ราคาหุ้นสูงขึ้นในที่สุด




Previous
Next Post »