[แนวคิดทางเศรษฐกิจก่อนสมัยพาณิชย์นิยม][เศรษฐสนุก]
1.แนวคิดทางเศรษฐกิจในสมัยโบราณ
2.แนวคิดทางเศรษฐกิจในสมัยอียิปต์
3.แนวคิดทางเศรษฐกิจในสมัยกรีก
4.แนวคิดทางเศรษฐกิจในสมัยเมโสโปเตเมีย
5.แนวคิดทางเศรษฐกิจในสมัยโรมัน
6.แนวคิดทางเศรษฐกิจในสมัยกลาง
แนวคิดทางเศรษฐกิจในสมัยโบราณ
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในสมัยโบราณนั้นอาจไม่ได้บ่งบอกถึงความชัดเจนของแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์โดยตรงแต่เนื่องจากว่าในสมัยโบราณนั้นพอจะอธิบายได้ว่ามีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นในโลกแล้วโดยเริ่มจากยุคหินเก่าประชาชนดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และการหาพืชผักผลไม้จากธรรมชาติเป็นอาหาร มีการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ต่อมาได้พัฒนาจากการหาจากธรรมชาติเป็นการผลิตขึ้นเองเนื่องจากอาหารตามธรรมชาติหายากขึ้นต้องอพยพย้ายที่อยู่ตามแหล่งอาหาร ไม่มีแหล่งที่อยู่แน่นอน
ต่อมาในยุคหินใหม่เริ่มมีการเปลี่ยนวิถีชีวิตมาทำการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ มีการสร้างที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง มีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ เช่นขวานหิน นอกจากนี้ยังมีการสร้างงานหัตถกรรมในครัวเรือน เช่นเครื่องปั่นด้าย เครื่องทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น เริ่มรู้จักการชลประทานอย่างง่ายๆ เช่นทำอ่างเก็บน้ำ มีการสร้างบ้านเรือนอยู่ถาวร จากครอบครัวหลายๆครอบครัวรวมกันเป็นหมู่บ้าน มีหัวหน้า มีภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมเดียวกัน มีกฎสำหรับคนหมู่มากใช้ร่วมกัน
ยุคต่อมาคือยุคโลหะ เริ่มมีการใช้ทองแดง และสัมฤทธิ์ มาประกอบเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับ มีการพัฒนากิจกรรมการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความเป็นอยู่ก็ได้พัฒนาจากชุมชนกสิกรรม มาเป็นชุมชนเมือง โครงสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติเปลี่ยนเป็นโครงสร้างที่อาศัยอาชีพและตำแหน่งหน้าที่ เช่น ชนชั้นสูง ได้แก่ พระ ขุนนาง กษัตริย์ นักรบ ชนชั้นกลาง ได้แก่ พ่อค้า ช่างฝีมือ ชาวนา และชนชั้นต่ำ ได้แก่ ทาส การแบ่งงานตามความถนัด ทำให้ได้งานมากขึ้น และเมื่อมีส่วนเกินก็นำมาแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน มีการคิดค้นและใช้เทคโนโลยีง่าย เช่นการใช้ลูกล้อในการขนส่งทางบก และเริ่มมีการเดินเรือ
แนวคิดทางเศรษฐกิจในสมัยอียิปต์
ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในสมัยอียิปต์ประกอบด้วยเกษตรกรรม พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม
ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในสมัยอียิปต์ประกอบด้วยเกษตรกรรม พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม
ด้านเกษตรกรรม – มีการเพาะปลูกโดยอาศัยน้ำจากแม่น้ำไนล์ มีการคิดค้นระบบชลประทาน และพืชผลทางเกษตร ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ผัก ผลไม้ ปอ และฝ้าย
ด้านพาณิชยกรรม-มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่น เช่น เกาะครีต พีนีเซีย ปาเลสไตน์ และซีเรีย สินค้าส่งออก คือ ทองคำ ข้าวสาลี และผ้าลินิน ส่วนสินค้านำเข้า คือ แร่เงินงาช้างและไม้ซุง
ด้านอุตสาหกรรม-อียิปต์มีช่างฝีมือและแรงงานจำนวนมาก มีเทคโนโลยีและวิทยาการที่ก้าวหน้า มีวัตถุดิบและมีการติดต่อกับดินแดนอื่น จึงมีการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ การทำเหมืองแร่ การต่อเรือ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องแก้ว และการทอผ้าลินิน
แนวคิดทางเศรษฐกิจในสมัยกรีก
ชาวกรีกทำการค้าขายทางทะเลกับดินแดนอื่น โดยมีการประกอบอุตสาหกรรมและการเกษตร คือ การทำน้ำมันมะกอก เหล้าองุ่นและเครื่องปั้นดินเผา การค้าของกรีกมีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยมีการใช้เหรียญ ทอง คำเงิน ทองแดง
ชาวกรีกทำการค้าขายทางทะเลกับดินแดนอื่น โดยมีการประกอบอุตสาหกรรมและการเกษตร คือ การทำน้ำมันมะกอก เหล้าองุ่นและเครื่องปั้นดินเผา การค้าของกรีกมีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยมีการใช้เหรียญ ทอง คำเงิน ทองแดง
สินค้าส่งออกที่สำคัญคือ องุ่น มะกอก ทอผ้าขนสัตว์
ส่วนสินค้านำเข้า คือ ธัญพืชจากชิลี อิตาลีและอียิปต์
นักคิดที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่
พลาโต (Plato) เป็นผู้มีแนวคิดเรื่องความชำนาญงานและการแบ่งงานกันทำ
ซีโนฟอน (Xenophon) มีแนวคิดที่ว่า การบริหารจัดการที่ดีจะเพิ่มขนาดส่วนเกินทางเศรษฐกิจทั้งระดับครัวเรือนและระดับประเทศ และการเพิ่มขนาดส่วนเกินทางเศรษฐกิจจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความชำนาญงาน การจัดระเบียบ และการแบ่งงานกันทำ ซึ่งสอดคล้องกับของพลาโต
อริสโตเติล(Aristotle) มองว่า การค้าทำให้คนสะสมความมั่งคั่งและขายสินค้าเกินราคายุติธรรม การค้าจึงไม่ใช่อาชีพที่เป็นธรรมชาติ จะต้องมีการจำกัดขอบเขตการค้า
แนวคิดทางเศรษฐกิจในสมัยเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมของเมโสโปเตเมีย เกิดจากภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยในดินแดนแห่งนี้ ได้แก่ กลุ่มสุเมเรียน อมอไรท์ ฮิตไทต์ แอลซีเรียน แคลเดียน เปอร์เซีย ฟีนีเชียน และฮิบรู
เศรษฐกิจหลักคือการเกษตรกรรม ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ทำผลิตภัณฑ์จากสัตว์เพื่อการบริโภค ได้แก่ เนื้อ นม เนย นอกจากนี้ก็ยังมีการค้าและการอุตสาหกรรม สินค้าส่งออก ได้แก่ ปลาแห้ง ขนสัตว์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี และเครื่องเหล็ก ส่วนสินค้านำเข้าได้แก่ ทองแดง ดีบุก และไม้ซุง
แนวคิดทางเศรษฐกิจในสมัยโรมัน
ชาวโรมันเป็นชนชาติที่อาศัยอยู่ในแหลมอิตาลี ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปยุโรป มีความเจริญด้านสังคมมาก ได้แก่ ภาษา การศึกษา วรรณกรรม การก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม เนื่องจากชาวโรมันเป็นคนขยัน มีวินัย มีระเบียบ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด ด้านเศรษฐกิจมุ่งเน้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาด้านกิจการทหารโดยทำให้กองทหารโรมันแข็งแรง เพื่อจะสามารถขยายอาณาจักรโรมันออกไป ดังนั้นรายได้หลักมาจากภาษีอากรและเครื่องบรรณาการจากเมืองขึ้นต่างๆของโรมัน ด้านการค้า มีการดำเนินการโดยเอกชนเป็นหลัก และรัฐจะเก็บภาษีจากเอกชน ส่วนคู่ค้าของโรมันคือเมืองต่างๆที่เป็นอาณานิคม และประเทศอินเดียกับจีน สินค้านำเข้าของโรมันคือ อัญมณีจากอินเดีย ผ้าไหมจากจีน เครื่องเทศ เครื่องโลหะ น้ำหอม ยาและฝ้าย
แนวคิดทางเศรษฐกิจในสมัยกลาง
เป็นแนวคิดทางความเชื่อของศาสนา ศาสนาเข้าไปมีบทบาทกำหนดแนวคิดของคนในสมัยนั้นเกือบทุกค้านไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม หลักเกณฑ์ทางเศรษฐกิจมี 2 ประการคือ
เป็นแนวคิดทางความเชื่อของศาสนา ศาสนาเข้าไปมีบทบาทกำหนดแนวคิดของคนในสมัยนั้นเกือบทุกค้านไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม หลักเกณฑ์ทางเศรษฐกิจมี 2 ประการคือ
1.ราคายุติธรรม(Just price) เป็นแนวคิดที่ถือว่าการขายสินค้าสูงกว่าคุณค่าที่แท้จริงของสินค้าเป็นความผิด
2.การห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ย(Usery)เป็นแนวคิดที่ถือว่าการเรียกเก็บดอกเบี้ย
จากการนำเงินไปใช้นั้นไม่ถูกต้องเป็นความผิดและบาป
จากการนำเงินไปใช้นั้นไม่ถูกต้องเป็นความผิดและบาป
[เศรษฐสนุก]