ลักษณะสำคัญ
ปรัชญาของลัทธิพาณิชย์นิยมเชื่อว่าประเทศจะร่ำรวยและมั่งคั่งได้ประเทศต้องมีดุลการค้าเกินดุล เมื่อประเทศมีดุลการค้าเกินดุลแล้วประเทศจะมีทองคำไหลเข้ามา เมื่อประเทศมีทองคำ
ไหลเข้ามากขึ้นแล้ว ผลที่ตามมาก็คือ ประเทศจะมีความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้น และเพื่อให้ประเทศเกิดดุลการค้าเกินดุลตลอดเวลารัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือเอกชนในประเทศดำเนินการค้าในลักษณะได้เปรียบ
ดุลการค้ากับประเทศคู่ค้าของตนโดยใช้นโยบายทางการทหารหรือ
มาตรการกีดกันทางการค้ากับประเทศคู่ค้าของตน
ไหลเข้ามากขึ้นแล้ว ผลที่ตามมาก็คือ ประเทศจะมีความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้น และเพื่อให้ประเทศเกิดดุลการค้าเกินดุลตลอดเวลารัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือเอกชนในประเทศดำเนินการค้าในลักษณะได้เปรียบ
ดุลการค้ากับประเทศคู่ค้าของตนโดยใช้นโยบายทางการทหารหรือ
มาตรการกีดกันทางการค้ากับประเทศคู่ค้าของตน
หลักสำคัญของปรัชญาลัทธิพาณิชย์นิยม
1.ประเทศจะมั่งคั่งได้ต้องมีการสะสมโลหะทองคำและเงิน(Gold and Silver)
2.ประเทศจะมั่งคั่งได้ก็ต่อเมื่อประเทศได้เปรียบดุลการค้าหรือประเทศต้องส่งออกมากกว่านำเข้า
สินค้า
สินค้า
3.ประเทศจะมั่งคั่งได้ก็ต่อเมื่อประเทศนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตภายในประเทศโดยการยกเว้นภาษีนำเข้า และพยายามจำกัดปริมาณส่งออกวัตถุดิบไปนอกประเทศ
4.ประเทศจะมั่งคั่งได้ก็ต่อเมื่อให้การสนับสนุนเอกชนเอาผลประโยชน์จากดินแดนอาณานิคมโดยวิธีการผูกขาดการค้ากับ
ดินแดนอาณานิคมของตนเอง
ดินแดนอาณานิคมของตนเอง
5.ประเทศจะมั่งคั่งได้ก็ต่อเมื่อยอมให้ทำธุรกิจในประเทศมีการค้าขายโดยระบบเสรี และไม่เห็นด้วยเมื่อรัฐเก็บภาษีอากรภายในประเทศ
6. ประเทศจะมั่งคั่งได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลกลางมีความเข้มแข็งและสามารถควบคุมธุรกิจภายในประเทศได้
7.ลัทธิพาณิชย์นิยมสนับสนุนให้เกิดความมั่งคั่งของประเทศแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญว่าประชาชนส่วน
ใหญ่ในประเทศจะมีความมั่งคั่งหรือไม่ โดยเห็นได้จากลัทธิดังกล่าวเน้นส่งเสริมให้ประเทศมีประชากรจำนวนมาก และยอมให้ประชากรทำงานหนักโดยกำหนดให้ค่าแรงอยู่ในระดับต่ำ และลัทธินี้ยังส่งเสริมให้มีกองทัพที่เข้มแข็งเพื่อต่อสู้กับศัตรูและล่าอาณานิคม
ใหญ่ในประเทศจะมีความมั่งคั่งหรือไม่ โดยเห็นได้จากลัทธิดังกล่าวเน้นส่งเสริมให้ประเทศมีประชากรจำนวนมาก และยอมให้ประชากรทำงานหนักโดยกำหนดให้ค่าแรงอยู่ในระดับต่ำ และลัทธินี้ยังส่งเสริมให้มีกองทัพที่เข้มแข็งเพื่อต่อสู้กับศัตรูและล่าอาณานิคม
ลักษณะนโยบายของระบบพาณิชย์นิยม
แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1.นโยบายเกี่ยวกับปัจจัยภายในประเทศ คือ ประเทศจะมั่งคั่งได้ก็ต่อเมื่อ ประเทศต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปฏิรูประบบภาษี โดยลดอัตราภาษีให้แก่ภาคธุรกิจปรือเอกชนของประเทศ และประเทศต้องขยายกำลังแรงงานเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคธุรกิจ
2.นโยบายเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกประเทศ คือประเทศจะมั่งคั่งได้ก็ต่อเมื่อประเทศต้องกำหนดนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งให้ประเทศมีการค้าเกินดุลอยู่ตลอดเวลา และต้องหาผลประโยชน์จากประเทศภายใต้อาณานิคมของตัวเองให้มากที่สุดเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้
กับประเทศ
กับประเทศ
ลัทธิพาณิชย์นิยมของโปรตุเกสลัทธิพาณิชย์นิยมมีอิทธิพลต่อนโยบายเศรษฐกิจเมื่อศตวรรษที่ 16 และ 17 ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจให้ก้าวหน้า ลัทธิพาณิชย์นิยมถูกนำไปใช้ใน
ประเทศโปรตุเกส โดยรัฐบาลเข้าควบคุมการค้าระหว่างประเทศทุกชนิดเพื่อให้ได้เปรียบ
ดุลการค้าและความมั่งคั่งของชาติโปรตุเกสต้องวัดจากมูลค่าโลหะมีค่า เช่น ทองคำและเงิน ที่อยู่ในประเทศ
ประเทศโปรตุเกส โดยรัฐบาลเข้าควบคุมการค้าระหว่างประเทศทุกชนิดเพื่อให้ได้เปรียบ
ดุลการค้าและความมั่งคั่งของชาติโปรตุเกสต้องวัดจากมูลค่าโลหะมีค่า เช่น ทองคำและเงิน ที่อยู่ในประเทศ
ลัทธิพาณิชย์นิยมของสเปนประเทศสเปนเป็นคู่แข่งที่สำคัญของโปรตุเกส มีการนำแนวทางลัทธิพาณิชย์นิยมมาปฏิบัติตามโปรตุเกส แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากปัญหาภายในของประเทศสเปน เช่น ปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรง มีหนี้สาธารณะสูง การทำศึกสงครามทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ลัทธิพาณิชย์นิยมของเนเธอร์แลนด์เนเธอร์แลนด์เข้าสู่ระบบลัทธิพาณิชย์นิยม ในช่วง
ค.ศ.1650-1770 โดยมีการจัดตั้งบริษัทแห่งหนึ่งเพื่อช่วยดูแลผลประโยชน์ของรัฐในดินแดนอาณานิคม มีการขายหุ้นและยอมให้มีการค้าโลหะอย่างเสรีเพื่อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศ และไม่มีการเก็บภาษี
ค.ศ.1650-1770 โดยมีการจัดตั้งบริษัทแห่งหนึ่งเพื่อช่วยดูแลผลประโยชน์ของรัฐในดินแดนอาณานิคม มีการขายหุ้นและยอมให้มีการค้าโลหะอย่างเสรีเพื่อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศ และไม่มีการเก็บภาษี
ลัทธิพาณิชย์นิยมของอังกฤษอังกฤษเข้าสู่ระบบลัทธิพาณิชย์นิยม ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
17-18 โดยให้ความสำคัญด้านการผลิตมากกว่าการบริโภคในประเทศ และมีความคิดที่แตกต่างจากสเปนและโปรตุเกส คือ เชื่อว่าความมั่งคั่งไม่จำเป็นต้องสะสมโลหะมีค่าในประเทศ แต่ควรใช้โลหะทองคำในการขยายการค้ากับต่างประเทศ นโยบายหลักสำหรับการค้าระหว่างประเทศมีหลายนโยบาย เช่น ภาษีนำเข้าจะเก็บจากประเทศคู่ค้าอื่นสูงกว่าเก็บจากในประเทศอังกฤษเอง
17-18 โดยให้ความสำคัญด้านการผลิตมากกว่าการบริโภคในประเทศ และมีความคิดที่แตกต่างจากสเปนและโปรตุเกส คือ เชื่อว่าความมั่งคั่งไม่จำเป็นต้องสะสมโลหะมีค่าในประเทศ แต่ควรใช้โลหะทองคำในการขยายการค้ากับต่างประเทศ นโยบายหลักสำหรับการค้าระหว่างประเทศมีหลายนโยบาย เช่น ภาษีนำเข้าจะเก็บจากประเทศคู่ค้าอื่นสูงกว่าเก็บจากในประเทศอังกฤษเอง
ลัทธิพาณิชย์นิยมของฝรั่งเศสเข้าสู่ระบบลัทธิพาณิชย์นิยม ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 ใช้หลักเน้นให้ประเทศมีประสิทธิภาพในการผลิตและให้เงินอุดหนุนภาคอุตสาหกรรม นำเข้าเทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต นอกจากนี้ยังใช้นโยบายการตั้งกำแพงภาษีให้
สูง เน้นส่งสินค้าออก และให้มีดุลการค้าเกินดุลอยู่เสมอ
สูง เน้นส่งสินค้าออก และให้มีดุลการค้าเกินดุลอยู่เสมอ
นักคิดที่มีอิทธิพลต่อลัทธิพาณิชย์นิยม
1. เจอรัลด์ มาไลนส์(Gerald de Malynes) เป็นผู้ให้แนวคิดที่มีผลต่อลัทธิพาณิชย์นิยมคือรัฐสามารถเข้าแทรกแซงเพื่อทำ
ให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ เน้นการค้าระหว่างประเทศและการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
ให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ เน้นการค้าระหว่างประเทศและการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
2. เอ็ดเวิร์ด มิสเซลเดน (Edward Misselden) มีแนวคิดดังนี้คือประเทศต้องดำเนินนโยบายทางการค้าระหว่างประเทศ
โดยเน้นดุลการค้าแบบได้เปรียบอยู่เสมอ เพื่อให้ประเทศมีความมั่งคั่ง และการส่งออกสินค้าที่ผลิตในประเทศเป็นหลักจะทำให้คนยากจนหมดไป
โดยเน้นดุลการค้าแบบได้เปรียบอยู่เสมอ เพื่อให้ประเทศมีความมั่งคั่ง และการส่งออกสินค้าที่ผลิตในประเทศเป็นหลักจะทำให้คนยากจนหมดไป
3. แอนโตนิโอ เซอร์รา(Antonio Serra) มีแนวคิดดังนี้ดุลการค้า ไม่ได้ประกอบด้วยสินค้า แต่ยังประกอบด้วยการบริการและการเคลื่อนย้ายเงินทุนของประเทศนั้น ซึ่งก็หมายถึงดุลการชำระเงินของประเทศ เน้นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมากกว่าเกษตรกรรม เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เน้นสร้างปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการค้าในประเทศ รัฐมีนโยบายช่วยเหลือประเทศโดยให้มีการส่งออกเงินตราได้
4. โทมัส มุน (Thomas Mun) มีแนวคิดดังนี้ประเทศจะมีความมั่งคั่งได้ ต้องนำทองคำและเงินมาใช้ในการขยายการค้ากับต่างประเทศ ประเทศควรมีการเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงแต่เก็บภาษีสินค้าส่งออกในอัตราที่ต่ำ นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับดุลการค้า โดยดุลการค้าเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ประกอบด้วย ดุลการค้าโดยรวมหรือทั่วไป และดุลการค้าเฉพาะส่วน
[เศรษฐสนุก]