Single License บทที่4 ตลาดการเงินระหว่างประเทศ

Single License บทที่4 ตลาดการเงินระหว่างประเทศ




สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับตลาดการเงินระหว่างประเทศ

  • ความหมายของตลาดการเงินระหว่างประเทศ
  • ธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
  • การลงทุนทางตรงและทางอ้อมในต่างประเทศ


Single License บทที่2 ตลาดตราสารทุน

Single License บทที่2 ตลาดตราสารทุน




สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับตลาดตราสารทุน

  • บทบาท และประโยชน์ของตลาดตราสารทุน
  • การเข้าตลาดหลักทรัพย์ SET และ MAI
  • ดัชนีราคาหลักทรัพย์
  • ประเภทบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์
  • รายละเอียดต่างๆในการซื้อขายหลักทรัพย์


Single License บทที่1 ระบบการเงินและโครงสร้างตลาดการเงิน

Single License บทที่1 ระบบการเงินและโครงสร้างตลาดการเงิน




สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบการเงินและโครงสร้างตลาดการเงิน

  • การระดมทุนประเภทต่างๆ
  • โครงสร้างตลาดการเงิน
  • ผู้ที่กำกับดูแลระบบการเงิน
  • ประเภทสินทรัพย์ทางการเงิน
  • วัตถุประสงค์ในการลงทุน



การคิดค่าเสื่อมราคา

การคิดค่าเสื่อมราคา


วิธีเส้นตรง

       วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด  จึงได้รับความนิยมมากที่สุด ใช้กับสินทรัพย์ที่มีราคาสูง  และอายุการให้ประโยชน์ยาวนาน  วิธีการคำนวณไม่ซับซ้อน สูตรของมันก็คือ

      ยกตัวอย่างเช่น  อาคารสำนักงานซึ่งซื้อมาในราคา  2,000,000 บาท ไม่รวมราคาที่ดิน คาดว่าจะใช้สำนักงานนี้ 10 ปี และหลังจากใช้งานแล้วก็น่าจะขายได้ราคา 500,000 บาท เพราะฉะนั้นค่าเสื่อมราคาต่อปีของอาคารสำนักงานนี้จะมีค่าเท่ากับ ปีละ 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่นำไปหักค่าใช้จ่าย แต่ถ้าราคาที่ซื้อมาเป็นราคาที่รวมราคาที่ดินด้วย ต้องลบราคาที่ดินนั้นออกก่อน เช่น อาคารเดิม แต่ราคานี้รวมที่ดิน ซึ่งได้รับการประเมินจากหน่วยงานของรัฐบาลว่ามีมูลค่า  300,000 บาท เพราะฉะนั้นอาคารหลังนั้นจะมีมูลค่า 1,700,000 บาท เมื่อนำไปคำนวณแล้ว ค่าเสื่อมราคาต่อปีที่นำไปหักค่าใช้จ่ายได้ จะเหลือเพียง 120,000 บาท

วิธียอดลดลงทวีคูณ

   วิธีนี้เป็นวิธีการเร่งการตัดจำหน่ายสินทรัพย์  ซึ่งบางคนมองว่าเหมาะสมเพราะเห็นว่าเครื่องจักรจำนวนมากใช้งานได้ดีในช่วงแรก หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพดีเท่าเก่า จึงเร่งตัดออกไปก่อน หรือบางคนก็จะมองว่าเป็นการประหยัดภาษีในช่วงต้นของการขายสินทรัพย์ วิธีนี้ให้นำอัตราค่าเสื่อมของวิธีเส้นตรงไปคูณสอง

  ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอายุการใช้งานเครื่องจักรจากตัวอย่างแรกเท่ากับ 10 ปี นั่นหมายความว่าจะตัดค่าเสื่อมปีละ 10% แต่วิธีนี้ให้คูณสองเข้าไป เพราะฉะนั้นจะตัดค่าเสื่อมปีละ 20% โดยไม่ต้องนำมูลค่าคงเหลือเข้ามาใช้คำนวณรวมด้วย เช่นจากตัวอย่างข้างต้น เมื่อสินทรัพย์มีมูลค่า 2,000,000 บาท ก็จะตัดค่าเสื่อมราคาปีแรก 400,000 บาท (2,000,000x20%) ในปีที่สองมูลค่าคงเหลือของสินค้านั้นก็จะเหลือแค่ 1,600,000 บาท (2,000,000-400,000) ค่าเสื่อมราคาในปีที่สองก็จะเท่ากับ 320,000 บาท และทำอย่างนี้จนครบอายุการใช้งานสินทรัพย์ตัวนั้น ซึ่งในปีสุดท้ายนั้นจะหักได้ไม่เกิน มูลค่าคงเหลือที่ได้ประเมินไว้

ประเภทของความเสี่ยงในการลงทุน

ประเภทของความเสี่ยงในการลงทุน


    ในการลงทุนผู้ลงทุนควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของความเสี่ยงเพื่อนำมาประกอบกับการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุนด้วยซึ่งความเสี่ยงในการลงทุนก็มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ แต่ก็สามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆดังนี้

1.ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยมหภาค
1.1  Pervasive Risk หมายถึง ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนหรือไม่ อันได้แก่
1.1.1 Currency Risk – ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
1.1.2 Political Risk – ความเสี่ยงทางการเมืองทำให้เงื่อนไขในการลงทุนในประเทศต่างไปจากที่คาดการณ์ไว้ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจ
1.1.3 Purchasing Power Risk – ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากอัตราเงินเฝ้อ ซึ่งเมื่ออัตราเงินเฟ้อระดับสูงขึ้นผลกำไรที่ผู้ลงทุนจะได้รับนั้นอาจไม่เพียงพอกับค่าครองชีพ

1.2 Systematic Risk หมายถึง ความเสี่ยงที่ไม่สามารถลดลงได้จากการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ อันได้แก่
1.2.1 Interest rate risk - ความเสี่ยงที่เกิดจากการแปรผันของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมักส่งผลต่อความกังวลของผู้ลงทุนในตราสารหนี้ หรือ พันธบัตรระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ค่อนข้างต่ำ
1.2.2 Market risk - ความเสี่ยงอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดโดยรวม ที่หลักทรัพย์ หรือ หุ้นทุกตัวต้องมีเป็นส่วนประกอบร่วมกันเพียงแต่อาจมากหรือน้อย ซึ่งความเสี่ยงนี้จะตัดออกไปไม่ได้แม้กระจายการลงทุนออกไปได้ดีแค่ใดก็ตาม

2. ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยจุลภาค 
2.1 Unsystematic Risk ความเสี่ยงที่สามารถลดได้การกระจายการลงทุน
2.1.1 ความเสี่ยงอุตสาหกรรม/ธุรกิจ เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการดำเนินงานของตัวธุรกิจเอง
2.1.2 ความเสี่ยงทางด้านการเงิน เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากตัวบริษัทเองเช่นกัน ตัวอย่างเช่นธุรกิจที่มีโครงสร้างหนี้สินเยอะก็อาจจะประสบปัญหาได้ในอนาคต