การคิดค่าเสื่อมราคา
วิธีเส้นตรง
วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด จึงได้รับความนิยมมากที่สุด ใช้กับสินทรัพย์ที่มีราคาสูง และอายุการให้ประโยชน์ยาวนาน วิธีการคำนวณไม่ซับซ้อน สูตรของมันก็คือ
ยกตัวอย่างเช่น อาคารสำนักงานซึ่งซื้อมาในราคา 2,000,000 บาท ไม่รวมราคาที่ดิน คาดว่าจะใช้สำนักงานนี้ 10 ปี และหลังจากใช้งานแล้วก็น่าจะขายได้ราคา 500,000 บาท เพราะฉะนั้นค่าเสื่อมราคาต่อปีของอาคารสำนักงานนี้จะมีค่าเท่ากับ ปีละ 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่นำไปหักค่าใช้จ่าย แต่ถ้าราคาที่ซื้อมาเป็นราคาที่รวมราคาที่ดินด้วย ต้องลบราคาที่ดินนั้นออกก่อน เช่น อาคารเดิม แต่ราคานี้รวมที่ดิน ซึ่งได้รับการประเมินจากหน่วยงานของรัฐบาลว่ามีมูลค่า 300,000 บาท เพราะฉะนั้นอาคารหลังนั้นจะมีมูลค่า 1,700,000 บาท เมื่อนำไปคำนวณแล้ว ค่าเสื่อมราคาต่อปีที่นำไปหักค่าใช้จ่ายได้ จะเหลือเพียง 120,000 บาท
วิธียอดลดลงทวีคูณ
วิธีนี้เป็นวิธีการเร่งการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ ซึ่งบางคนมองว่าเหมาะสมเพราะเห็นว่าเครื่องจักรจำนวนมากใช้งานได้ดีในช่วงแรก หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพดีเท่าเก่า จึงเร่งตัดออกไปก่อน หรือบางคนก็จะมองว่าเป็นการประหยัดภาษีในช่วงต้นของการขายสินทรัพย์ วิธีนี้ให้นำอัตราค่าเสื่อมของวิธีเส้นตรงไปคูณสอง
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอายุการใช้งานเครื่องจักรจากตัวอย่างแรกเท่ากับ 10 ปี นั่นหมายความว่าจะตัดค่าเสื่อมปีละ 10% แต่วิธีนี้ให้คูณสองเข้าไป เพราะฉะนั้นจะตัดค่าเสื่อมปีละ 20% โดยไม่ต้องนำมูลค่าคงเหลือเข้ามาใช้คำนวณรวมด้วย เช่นจากตัวอย่างข้างต้น เมื่อสินทรัพย์มีมูลค่า 2,000,000 บาท ก็จะตัดค่าเสื่อมราคาปีแรก 400,000 บาท (2,000,000x20%) ในปีที่สองมูลค่าคงเหลือของสินค้านั้นก็จะเหลือแค่ 1,600,000 บาท (2,000,000-400,000) ค่าเสื่อมราคาในปีที่สองก็จะเท่ากับ 320,000 บาท และทำอย่างนี้จนครบอายุการใช้งานสินทรัพย์ตัวนั้น ซึ่งในปีสุดท้ายนั้นจะหักได้ไม่เกิน มูลค่าคงเหลือที่ได้ประเมินไว้