ทำไม “ผู้หญิงสวย” จึงมักลงเอยกับ “ผู้ชายไม่หล่อ” ?



วันนี้มีเรื่องมานำเสนอใน[เศรษฐสนุก]เพราะบังเอิญไปเจอบทความหนึ่งเขียนดีมากมาลองอ่านดู

McNulty, Neff, and Karney (2008) ได้ทำการประเมินต่อด้วยสมการถดถอย (Regression Analysis) โดยใช้ระดับความมีเสน่ห์ทางร่างกายทั้งของสามีและภรรยาเป็นตัวแปรอิสระ และควบคุมปัจจัยอื่นๆ อันได้แก่ การศึกษาและรายได้


ในการวัดผลลัพธ์ของการแต่งงาน McNulty, Neff, and Karney (2008) จำแนกออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ๑) ความพอใจในชีวิตแต่งงาน (Marital Satisfaction) เป็นการให้คู่แต่งงานตอบแบบสอบถามแบบสเกลที่มีพื้นฐานมาจาก Quality Marriage Index (Norton, 1983) ๒) พฤติกรรมที่ปฏิบัติต่อคู่ครอง (Marital Interaction Behavior) จะถูกวัดจากอาสาสมัครทางจิตวิทยาที่ได้รับการอบรม ระหว่างที่คู่บ่าวสาวอธิบายถึงปัญหาของชีวิตแต่งงาน และ ๓) ระดับความมีเสน่ห์ทางร่างกาย (Physical Attractiveness) จะถูกประเมินจากอาสาสมัคร โดยที่ไม่ทราบว่าใครเป็นคู่ของใคร

ข้อมูลสถิติพื้นฐานของตัวแปรตามทั้งสาม พบว่า คู่แต่งงานมีความพอใจในชีวิตแต่งงานอยู่ในระดับที่สูง (คะแนนเต็ม 45; ผู้ชายมีค่าเฉลี่ย = 42.1 SD = 4.0 ผู้หญิงมีค่าเฉลี่ย = 42.1 SD = 5.3) ขณะที่อาสาสมัครให้คะแนนการปฏิบัติต่อกันในทางบวกมากกว่าลบ (คะแนนจาก -1.0 ถึง +1.0; ผู้ชายมีค่าเฉลี่ย = 0.20 SD = 0.24 ผู้หญิงมีค่าเฉลี่ย = 0.24 SD = 0.21) และให้คะแนนความมีเสน่ห์ทางร่างกายโดยเฉลี่ยอยู่ค่ากลางๆ (คะแนนเต็ม 10; ผู้ชายมีค่าเฉลี่ย = 4.5 SD = 1.0 ผู้หญิงมีค่าเฉลี่ย = 4.3 SD = 1.2)



ผลการศึกษาตามตารางที่ ๑ แสดงค่าความสัมพันธ์ระหว่างระดับความมีเสน่ห์ทางร่างกายของสามีหรือภรรยา (Absolutue Attractiveness) กับความพอใจในชีวิตสมรสหรือพฤติกรรมที่ปฏิบัติต่อกัน โดยผู้ชายที่หล่อจะมีแนวโน้มทั้งความพอใจในชีวิตสมรสต่ำ (r=-0.27*) และการปฏิบัติต่อภรรยาที่ไม่ค่อยดี (r=-0.31*) แต่ผู้หญิงที่สวยมีแนวโน้มจะปฏิบัติกับสามีค่อนข้างดี (r=0.26*) ขณะที่ทั้งความพอใจและการปฏิบัติต่อกันจะดีหรือไม่ดีนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปร่างหน้าตาของคู่สมรสเลย

“ตารางที่ ๑ ความสัมพันธ์ระหว่างเสน่ห์ทางร่างกายกับความพอใจในชีวิตสมรส”




ผลการศึกษาที่แสดงในตารางที่ ๒ มีความน่าสนใจหลายประการ

- ในด้านการปฏิบัติต่อกัน

ความหล่อของสามี ส่งผลทางลบทั้งต่อการปฏิบัติของตัวสามีเองต่อภรรยา (เช่น ให้เกียรติภรรยาน้อยลง) และการปฏิบัติของตัวภรรยากับสามี (เช่น มักเกิดความหึงหวง หวาดระแวง)
ความสวยของภรรยา ส่งผลบวกทั้งต่อการปฏิบัติของตัวภรรยาที่มีต่อสามี (เช่น ให้เกียรติสามีมากกว่า เพราะต้องรักษาภาพพจน์) และการปฏิบัติของตัวสามีต่อภรรยา (เช่น คอยเอาอกเอาใจมากขึ้น เพราะภรรยาสวย)
- ในด้านความพึงพอใจต่อชีวิตสมรส ไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนว่ารูปร่างหน้าตาจะส่งผลให้ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นหรือลดลง

กล่าวโดยสรุปสั้นๆ ก็คือ รูปร่างหน้าตาที่ดีของฝ่ายหญิงจะส่งผลบวกต่อการปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่สมรส ขณะที่รูปร่างหน้าตาที่ดีของฝ่ายชายกลับส่งผลลบ

……….

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้จากสองแนวคิด

หนึ่งคือ แนวคิดทางด้าน(กึ่ง)มานุษยวิทยาที่อธิบายได้ว่า การมีรูปร่างหน้าตาดีของผู้หญิงนั้น ตัวผู้หญิงเองจะถือว่าเป็นทรัพยากร(หรือทรัพย์สิน) และมักใช้ไปเพื่อคัดเลือกคู่ครองที่เหมาะสม ขณะที่การมีรูปร่างหน้าตาดีของผู้ชายนั้น ตัวผู้ชายจะถือว่ามันเป็นอาวุธที่ใช้ในการล่า เพื่อขยายเผ่าพันธุ์ ดังนั้น เมื่อมีการลงเอยกันแล้ว ผู้หญิงมักถือว่าตนเองได้คู่ครองที่เหมาะสม และสร้างครอบครัวต่อไป แต่ผู้ชายจะยังคงใช้เพื่อการล่า และนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวต่อไป

สองคือ แนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์(พฤติกรรม) ผู้หญิงเป็นเพศที่มีความงามมากกว่าผู้ชาย จึงไม่ขาดแคลนทรัพยากรความงาม พวกเขาจึงให้ความสำคัญกับด้านอื่นๆ ที่พวกเขาขาดแคลนแทนที่ เช่น ฐานะ ความสามารถ ไหวพริบ หรือแม้แต่มุกตลก ขณะที่ผู้ชายให้ความสนใจกับความงามของผู้หญิงเพราะเป็นสิ่งที่พวกเขาขาดแคลนมากกว่า แต่ไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้ายที่งานวิจัยของ Dan Ariely ระบุว่า ในสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ผู้หญิงสนใจฐานะมากที่สุด


ที่มาhttp://setthasat.com
First